การประพฤติปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องที่ทำอยู่กับตัวเราเอง ทำอยู่กับร่ างกายจิตใจนี้เอง
ไม่ได้ทำที่ไหน แล้วก็ทำได้ทุ กขณะ กำลังยืนก็มีรูปนามอยู่อย่ างนี้ กำลังนั่งก็มีรูปนามอยู่อย่ างนี้
กำลังนอนก็มีรูปนามอย่ างนี้ กำลังคู้ เหยี ยด เคลื่อนไหวมันก็มีรูปนามอยู่ กำลังกิน กำลังถ่าย
กำลังนุ่งห่มเสื้อผ้า มันก็มีอยู่อย่ างนี้ มีรูป มีนาม เป็นเหตุเป็นปัจจัย
มีผัสสะกระทบ เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวได้ยิน เดี๋ยวรู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสคิดนึก
เจริญสติ หยั่งรู้เข้าสู่ภายใน ภายนอกมันก็ทำไป
แต่สติสัมปชัญญะเรียกว่า สัมผัสภายใน กายที่เคลื่อนไหว
แต่ว่ามีสติ รับรู้ความรู้สึกเคลื่อนไหว รู้ใจที่รับรู้ นั่งอยู่
สติก็ไปรับรู้ภายใน ไปรู้ความรู้สึก ไปรู้ที่ใจที่รับรู้ นอน
สติสัมปชัญญะ ก็ไปรับรู้ความรู้สึกที่กาย รับรู้ความรู้สึกที่จิตใจ รับรู้ตัวรู้ ยืน
สติสัมปชัญญะ ก็ไปรู้ที่ความรู้สึกที่กายที่ยืน รู้จิตใจอยู่ มันก็มีอย่ างนี้
จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันก็มีสภาวะ มีรูปมีนาม เป็นเหตุเป็นปัจจัยเกิด ดับเปลี่ยนแปลงอยู่อย่ างนี้
ฉะนั้น ธรรมะพ ระพุทธเจ้า จึงตรัสว่าเป็น อกา ลิโก ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดก าล
ปฏิบัติได้ทุ กขณะ รู้แจ้งได้ทุ กขณะ ถ้าหากว่ามีปัญญาหยั่งรู้เห็นในขณะนั้น ผลก็เกิดขึ้นในขณะนั้น
เจริญวิปัสสนา จึงต้องเจริญทุ กขณะ พย าย ามใส่ใจ พย าย ามกำหนด พย าย ามพิจารณา
เดินไปที่ไหนก็ตาม นั่งอยู่ที่ไหนก็ตาม นอนอยู่ที่ไหนก็ตาม กำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม พย าย ามใส่ใจ ด้วยสติสัมปชัญญะ
พิจารณาลงไปในกระแสของธรรม เห็นสภาวะรูปนามเปลี่ยนแปลงเกิด ดับอยู่ทุ กขณะ นี่แหละเป็นทางแห่งความดับทุ กข์
ที่มา : พ ระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรังสี)
ขอบคุณ : dhammasawatdee