ในชีวิตประจำวันจะมี ‘เวลา’ ที่เรามองเห็นชัดเจน คือเวลาที่เราใช้ไปกับการทำงานจริงจัง
การเรียนในตาราง กิจก รรมประจำต่าง ๆ ที่วางไว้เป็นรูทีน
อาบน้ำ กิน นอน เดินทาง ซึ่งทุ กคนดูเหมือนจะมีชีวิตคล้ายกัน แต่ยังมีอีกสิ่ง
ที่ทำให้คนเราแต กต่างกันออกไป สิ่งนั้นเรียกว่า ‘เวลาที่สอง’
ยังมีเวลาอีกชนิดที่เราไม่เห็นชัดเจนเท่าแบบแรก เพราะมันแทรกตัวอยู่เล็ก ๆ แบบกระจัดกระจาย
มันคือเศษเวลาในห้วงระหว่างกิจก รรมต่าง ๆ เวลาระหว่างเดินทาง ระหว่างรอคิว รอเพื่อนที่มาช้า ฯลฯ
หลู่ซวิ่น นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวจีนกล่าวไว้ว่า “ก าลเวลาเปรียบเสมือนฟองน้ำ
เมื่อบีบลงไปอีก ก็มักจะมีน้ำไหลออกมา” เมื่อให้ความสำคัญกับสิ่งใดเราจึง ‘เจียด’ เวลามาให้มันได้เสมอ
คนที่ใช้ ‘เวลาที่สอง’ ซึ่งคนอื่นปล่อยปละไปเปล่า ๆ จึงดูเหมือนมีเวลามากกว่าคนอื่น ทำอะไรได้มากกว่าคนอื่น
เศษเ สี้ยวเวลา เมื่อสะสมมากเข้า ก็เหมือนทรายเม็ดเล็กที่รวมเป็นกองทราย
มากขึ้นไปอีกก็ก่อปราสาททรายสวยงามได้เช่นกัน การใช้ ‘เวลาจิ๋ว’ ให้เป็นประโยชน์
อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตอีกคนหนึ่งไปมากมาย
เช่น นักเรียนที่ใช้เวลาเดินทางไปกับการท่องศัพท์ อาจกลายเป็นคนเก่งภาษาอังกฤษ
คนที่ฟังพอดแคสต์ระหว่างรอเพื่อนอาจได้ทริกดี ๆ มาทำการค้า ฯลฯ
นิสัยรักการอ่ านของผม เกิดเพราะบ้านอยู่ไกลจากมหาวิทย าลัย
ทุ กเช้าผมใช้เวลาเกือบหนึ่งชั่ วโมงบนรถ ปอพ. จากอู่สู่จุฬาฯ ไปกับการอ่ านหนังสือ
และอ่ านหนังสือจบไปหลายเล่มตลอดเวลา 5 ปี เวลาบน ปอพ. จึงเป็น ‘โรงเรียน’ อีกแห่งของผม
แต่จะว่าไป ชีวิตยังมีเ สี้ยวเวลาเหล่านี้อีกมากมาย ที่เราสามารถใช้สอยไปกับสิ่งที่เป็นประโยชน์
หรือสะสางงานคั่งค้าง เช่น ตอบข้อความหรืออีเมลงานง่าย ๆ ให้เสร็จสิ้นไป
เวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ สะสมมากเข้าจะเกิดผลลัพธ์ชัดเจน เราจะค่อย ๆ มีความรู้มากขึ้น
จัดการงานต่าง ๆ ได้ฉับไวขึ้น เหลือเวลาทำสิ่งสำคัญมากขึ้น
ถ้าฝึกเป็นนิสัย ก็จะดูเหมือนว่าเราเป็นคนที่มีเวลามากกว่าคนอื่น
เพราะเรายืม ‘เวลาที่สอง’ ที่คนจำนวนมากทิ้งไปเฉย ๆ มาใช้
ชีวิตทุ กวันนี้ย ากกว่าสมัยผมยังเป็นหนุ่มน้อย เพราะมือถือช่างดึงดูดให้เราใช้ ‘เวลาที่สอง’ ละลายไปกับมัน
เราจึงสูญเ สียช่วงเวลาเงียบ ๆ ที่เป็น ‘ช่องว่าง’ ของสองกิจก รรม
ซึ่งอาจย าวนานตั้งแต่ 5 นาที ไปจนถึงครึ่งชั่ วโมง ไปกับมือถืออย่ างรวดเร็ว
คงเป็นโจทย์ของแต่ละคนว่าจะจัดสมดุลเรื่องนี้อย่ างไร
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อไอน์สไตน์ล้ มป่ วยตอนอายุ 76 ปี เพื่อนคนหนึ่งถามเขาว่า เขาต้องการอะไรบ้าง
คำตอบคือ “ผมเพียงหวังว่า ยังมีเวลาอีกสักเล็กน้อย เพื่อจะได้จัดการต้นฉบับบางส่วนให้เรียบร้อย”
ภาษิตจีนโบราณกล่าวว่า “วัยฉกรรจ์มีครั้งเดียวในชีวิต ดุจเช้าตรู่มีเพียงวันละครั้ง
ควรเร้าใจตนเองให้ขยันทันก าลเวลา อย่ าลืมว่าวันเวลาย่อมไม่รอใคร”
ฟังแล้วก็คิดว่า ไม่เพียงวัยฉกรรจ์ หากคือทุ กวันล้วนมีเวลาไม่นาน เมื่อผ่ านแล้วก็ผ่ านเลย
ทุ กโมงย ามล้วนไม่หวนคืน ย ามสาย บ่าย เย็น ก็มีเพียงวันละครั้งเท่านั้น
ทุ กคนมี ‘เวลาที่สอง’ บางคนเห็น บางคนไม่เห็น ระหว่างที่คนหนึ่งอ่ าน ฟัง คิดไปกับ ‘อะไรก็ไม่รู้’
อีกคนกำลังอ่ าน ฟัง คิดไปกับ ‘สิ่งที่เป็นประโยชน์กับชีวิต’
ทั้งสองคนอาจใช้เวลาหลักในชีวิตไม่ต่างกัน แต่กลับมีผลลัพธ์ของการงานและชีวิตแต กต่างกันมาก
บ่อยครั้งที่ชีวิตวัดกันที่.. สิ่งที่มองไม่เห็น
ที่มา Roundfinger
ขอบคุณ : f e e l i n g d d