ประเภทที่ 1 : คนที่ทำงานแบบเดิมๆ ซ้ำๆ
พนักงานที่ต้องทำงานแบบเดิมๆ ซ้ำๆ เช่น แพคของ ประกอบชิ้นส่วนจัดเรียงสินค้าในคลัง
งานที่อาศัยแค่การจับวางให้เข้าที่ไม่ได้ใช้การคิด วิเคราห์หรือการตัดสินใจใดๆ
เรียกว่าทำงานด้านเดียวคล้ายๆ หุ่นยนต์จึงไม่แปลกเลย หากจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์จริงๆ
เพราะ หุ่นยนต์ไม่เรียกร้องขึ้นเงินเดือน ไม่ ขาด ลา มาสายไม่บ่น
ไม่หยุดงานประท้วง ไม่เรียกร้องสวัสดิการเพิ่ม
ประเภทที่ 2 : คนที่นอกเหนือจาก 8 ชั่ ว โมงไม่เรียนรู้
มีเพื่อนผมคนหนึ่งทำงานที่โกดังสินค้า คอยเช็คจำนวนสินค้า ในคลังเป็นงานง่ายๆ
ที่เหมือนจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในอนาคตแต่เมื่อทำงานปีแรกเขาก็ค้นพบ
ว่ามีของบางอย่างที่ถูกจัดส่งเป็นจำนวนมากเขาเริ่มเกิดไอเดีย
จึงไปค้นหาข้อมูลต่อและพบว่าของบางอย่างในโกดังนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมาก
ด้วยความที่อยู่ในวงการนี้อยู่แล้ว ทำให้เขามองหาแหล่งผลิตที่ต้นทุนถูกได้
และ เริ่มนำมาลงหน้าเว็ปเพื่อขายออนไลน์ ผ่านไป 3 ปี ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ปีที่ 7 เขาก็เปิดบริษัทของตัวเอง…!! ตลอดระยะเวลาแห่งงานเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เขาไม่เคยหยุดทำ
ก็คือ ใช้เวลานอกเหนือจาก 8 ชั่ ว โมงในการเรียนรู้ยุคสมัยนี้เป็นยุคแห่งการเรียนรู้
ความรู้เติบโตขึ้นในอัตรา ที่ก้าวกระโดดทุกคนมีอินเตอร์เน็ต
สามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆได้อย่างรวดเร็วแค่ปลายนิ้ว
อยู่ที่ว่าคุณจะใช้โอกาสที่มีไขว่คว้า หรือ นั่งรอวันถูกแทนที่
ประเภทที่ 3 : คนที่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เป็น
บริษัทต่างชาติแห่งหนึ่ง ให้เงินผู้สมัครงาน 75 บาท ให้พวกเขาไปหาข้าวกินด้วยกัน
ผู้สมัคร 6 คนไปถึงร้าน อ า ห า ร ด้วยกัน แต่ข้าวจานหนึ่งราคาอย่างต่ำ 15 บาท
เงินที่พวกเขามีไม่พอจะซื้อข้าวคนละจานเลยด้วยซ้ำ ก็เลยกลับไปบริษัท
พอถึงบริษัท ประธานบริษัทรู้เข้าก็ส่ายหน้า : ” ขอโทษด้วย พวกคุณไม่เหมาะกับบริษัทเรา
” รู้ไหม…? ร้าน อ า ห า ร ร้านนั้น มีโปรโมชั่นซื้อ 5 แถม 1 ไม่ได้ อ่ า น ดูรายละเอียด
ในเมนูเลยหรอ นี่แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจหรือ ถึงแม้ไม่มีโปร 5 แถม 1
ก็ยังขอจานเปล่ามาหนึ่งใบ แล้วสั่งข้าว 5 จานมาแบ่งกันกินได้
แต่ผู้สมัครทั้ง 6 คนไม่มีใครคิดว่ามาด้วยกันจึงไม่เกิดคำว่า เป็นทีมเดียวกัน
ทุกคนต่างคิดถึงแต่ตัวเอง เมื่อเข้ามาอยู่ในองค์กรก็ไม่รู้จักการทำงานเป็นทีม
รู้ไหม…? ทีมเวิร์คที่ดีนี่แหละที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าหุ่นยนต์
ประเภทที่ 4 : คนที่ไม่เข้าใจการลงทุนในตัวเอง
เรามักจะได้ยินคำเตือนว่า… ” อย่าฟุ่มเฟือย “ แต่ถ้าเราเก็บเงินได้ 1 แสนต่อปี
ภายใน 10 ปี เก็บได้ 1 ล้าน นี่คือเก่งหรอ…?
ไม่ใช่…! เพราะเมื่อคุณใช้เวลา 10 ปีถึงจะเก็บเงินได้ 1 ล้าน
คนอื่นอาจจะใช้เวลาแค่ปีเดียว….!!ตอนที่คุณยังเยาว์วัยคุณต้องรู้ว่าจะลงทุน
กับตัวเองยังไงถ้าทุกเดือนคุณเอาเงินส่วนหนึ่งมาลงทุนกับตัวเอง…
บางคน.. ” ออกเดินทาเที่ยวรอบโลก “ ไปเจอธุรกิจใหม่ๆที่น่าสนใจในต่างประเทศ
แต่ในบ้านเรายังไม่มี ก็นำไอเดียกลับมาต่อยอดเป็นธุรกิจของตัวเอง
บางคน.. ” ไปเรียนคอสการขายเสริมหลังเลิกงาน “ อาจไม่ได้รวยในทันที
แต่การได้ทำความรู้จักคนมากมายก็นำพาโอกาสดีๆเข้ามาในชีวิตได้เหมือนกัน
บางคน.. ” ไปเข้าฟิตเนสออกกำลังกาย “ จนค้นพบช่องทางธุรกิจ
เปิดยิม ขาย อ า ห า ร เสริมสำหรับคนรัก สุ ข ภ า พหลายปีผ่านไปคุณจะพบว่า
เงินที่คุณใช้ไป ทำให้คุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้น คุณได้คืนกลับมาหลายเท่า…!!
ประเภทที่ 5 : คนมองอะไรสั้นๆ ตัดสินแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าทันที
หลังเรียนจบ Li Ting และ Tan Si เข้าไปฝึกงานที่บริษัทบัญชี แห่งหนึ่งด้วยกัน
หลังหมดระยะฝึกงาน บริษัทเสนอให้ไปศึกษางานที่สำนักงานใหญ่ที่ต่างประเทศ 2 ปี
แต่ได้เงินเดือนครึ่งเดียวไม่มีค่าคอมมิชชั่น Li Ting
รู้สึกว่าเงินเดือนน้อยเกินไป แถมไม่คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในต่างแดน
ก็เลยไม่เอาส่วน Tan Si กล้าตัดสินใจเลือกไปศึกษางานที่สำนักงานใหญ่
ในต่างประเทศในมุมมองของเธอ… ไปศึกษางานแถมยังได้เงินเดือน
เป็นเรื่องที่คุ้มแสนคุ้ม ผ่านไป 2 ปี Tan Si กลับมาที่บริษัทในฐานะหัวหน้าโครงการคนใหม่
รายได้ 1 ล้านต่อปีส่วน Li Ting ยังคงทำงานในตำแหน่งเดิม
เงินเดือนในตอนนี้ไม่ถึง 1 ใน 3 ของ Tan Siไม่ใช่ว่า Tan Si ตัดสินใจถูก
หรือ Li Ting ตัดสินใจผิด เพราะ ทั้งคู่ต่างเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด
ให้ตนเองแต่เมื่อเวลาที่ผ่านไปจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
การตัดสินใจของเราในอดีต จะพาเราก้าวหน้าขึ้นได้หรือไม่
เมื่อก่อนปลาเล็กกินปลาใหญ่ ตอนนี้ต้องเปลี่ยนเป็นปลาเร็วกินปลาช้า
สิ่งใหม่ๆ ที่ปรากฏขึ้นมักมาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจ แต่เมื่อโอกาสผ่านไป
คนที่ช้าก็จะไม่มีทางได้สัมผัสในยุคนี้ พวกเราต้องมีสัญชาตญาณของการเอาตัวรอด
( เราเป็นคน ไม่ใช่หุ่นยนต์ ต้องรู้จักเรียนรู้ และ ปรับตัว )
ค้นหาและแก้ไข้ข้อบกพร่องของตัวเองอย่างทันท่วงที
เพื่อที่จะพัฒนาต่อไปในทิศทาง ที่ดียิ่งขึ้นไม่อย่างนั้นในแต่ละปีที่ผ่านไป
คุณจะพบว่า คุณถูกคนอื่นๆทิ้งไว้ข้างหลังแล้วจะเห็นว่าตัวอย่าง ที่หยิบยกมานั้น
ไม่ได้เจาะจงถึงอาชีพใด เพราะทุกอาชีพล้วนมีโอกาสตกงานได้ทั้งนั้น
แต่ยกตัวอย่างให้เห็นถึงทัศนะคติ ที่จะเป็นสิ่งตัดสินว่า คุณจะถูกแทนที่หรือได้ไปต่อ
ที่มา : b i t c o r e t e c h