Home เรื่องน่ารู้ ก่อนถมที่ดิน ต้องทำอะไรบ้าง

ก่อนถมที่ดิน ต้องทำอะไรบ้าง

8 second read
ปิดความเห็น บน ก่อนถมที่ดิน ต้องทำอะไรบ้าง
0
1,841

ก่อนที่จะมีการวางสิ่งปลูกสร้าง หรือทำประโยชน์ต่อที่ดินผืนนั้น ๆ เจ้าของ

มักจะทำการถมที่ดินให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือถมเพื่อให้ระดับดินเท่ากัน

เวลาปลูกสร้างทำอะไรก็จะดูสวยงาม แต่การจะถมดินแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าจะถมได้เลย

ต้องมีการพิจารณาอยู่หลายขั้นตอน เพื่อความเหมาะสม

และดำเนินการได้อย่ างราบรื่น ไม่มีสะดุดกลางคัน

 

1. ถมดินช่วงเดือนไหนถึงจะดี

ความเชื่อโบร่ำโบราณที่ยึดถือปฏิบัติกันมา จะไม่ให้ถมดินหรือสร้างบ้านในช่วงเดือน 5 – เดือน 8

ซึ่งก็ไม่ทราบว่าทำไมจึงปฏิบัติต่อกันมาแบบนั้น แต่จากที่ลองวิเคร าะห์ดูสิ่งที่พอจะเป็นไปได้คือ

ในช่วงที่เขาห้ามนั้นเป็นช่วงฤดูฝน สภาพอากาศจึงไม่เหมาะที่จะทำการถมดินหรือสร้างบ้าน

นอกจากจะดำเนินการไม่สะดวกแล้ว ยังอาจส่งผลทำให้ต้องเ สียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

เพราะการถมดินในฤดูฝน รถตักดินจะไม่สามารถลงบ่อดินได้ รถบรรทุ กก็เข้าถมดินด้วยปัจจัยเหล่านี้

ทำให้ค่าใช้จ่ายในการถมดินมีราคาสูง และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมกว่าปกติอีกมาก

แต่หากถมดินเสร็จก่อนฤดูฝน พอเข้าฤดูฝน ฝนที่ต กลงมานั้น ก็จะทำให้หน้าดินไม่เสมอกัน

บางส่วนจะยุบตัวลง สุดท้ายก็ต้องรอให้พ้นฤดูฝนไปก่อน และแน่ใจว่าจะไม่มีฝนต กลงมาแล้ว

ก็ต้องเริ่มทำการถมปรับหน้าดินกันใหม่ หลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กันอีกที

ค่าใช้จ่ายจึงบานปลายกว่าที่ได้ตั้งไว้

 

2. ถมดินสูงแค่ไหนถึงจะดี

ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว ตำแหน่งที่ดีในการสร้างบ้าน คือ ต้องไม่ต่ำกว่าระดับถนน แต่ก็ไม่ควรสูงมากเกินไปนัก

ให้อยู่ในระดับ 0.5 – 1 เมตร แล้วแต่ว่าสไตล์บ้านเป็นแบบไหน อีกอย่ างที่ต้องคำนึงถึงให้มากก็คือ

ต้องไม่ถมดินสูงกว่าบ้านข้าง ๆ หรือที่อยู่ในระแวกเดียวกับบริเวณบ้าน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง

หากได้ระดับในการถมดินแล้ว ก็ให้ถมสูงขึ้นเผื่อไว้สักนิด เพราะดินจะมีการยุบตัวได้ในอนาคต

ถึงแม้ผู้รับเหมาจะทำการบดหน้าดินไว้จนแน่นดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่ านไปหน้าดินจะทรุดลงเสมอ

เพราะฉะนั้นเราควรจะถมดินให้มีระดับสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้ประมาณ 20 เซนติเมตรกำลังดี เพื่อเผื่อการยุบตัวของดิน

 

3. จำเป็นแค่ไหนต้องถมดิน

การถมดินเพื่อการก่อสร้างหรือเพื่อใช้ประโยชน์นั้น บางครั้งก็ไม่ได้จำเป็นทุ กครั้งไป

หากพื้นที่นั้นไม่ได้ต่ำกว่าระดับถนน หรือเป็นพื้นที่ลาดชันมากในลักษณะภูเขา

การถมดินก็อาจไม่จำเป็นกับพื้นที่เหล่านี้ แล้วพื้นที่ไหนที่ควรทำการถมดินล่ะ

พื้นที่ที่ควรจะถมดินเป็นอย่ างมากคือ พื้นที่ที่มีความเสี่ ยงต่อการมีน้ำท่วมขัง

โดยเจ้าของที่ดินต้องมีการสำรวจประวัติของพื้นที่นั้น ๆ โดยหาข้อมูลประวัติที่ดิน

หรือสอบถามกับคนระแวกใกล้เคียง ว่ามีน้ำท่วมบ้างหรือไม่ บ่อยแค่ไหน นานเท่าไหร่ สูงมากหรือไม่

เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการถมที่ดิน รวมถึงการสั่งดินมาเพื่อให้เพียงพอกับการถมดินด้วย

แต่หากเป็นพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับถนนมาก หากต้องถมดินบางครั้งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าราคาที่ดินเสี ยอีก

ก็ให้เลือกที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างให้ยกพื้นสูงขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนลดลงไปได้

 

4. ซื้อดินเป็นคันรถหรือเหมาจ่ายดี

เป็นคำถามที่มีคนถามอยู่มาก ต่างก็กลุ้มใจและคิดไม่ต กว่า จะเลือกซื้อดินแบบไหนดี

แนะนำให้เป็นแบบเหมาจ่ายไปเลย เพราะสามารถจบงานได้ง่ายและค่าใช้จ่ายไม่บานปลาย

แต่หากเลือกที่จะสั่งซื้อดินเป็นคัน ก็ต้องควบคุมปริมาณตามที่ซื้อจริงให้ได้ เพราะในการตักดินจะหาปริมาณ

และมาตราฐานที่แน่นอนไม่ได้ ถ้าเปรียบเทียบดูแล้ว ในการซื้อดินเป็นคันรถ ผู้รับเหมาอาจจะตักดินไม่เต็มคัน

และตักต่อคันไม่เท่ากัน แต่หากเราซื้อแบบเหมา ผู้รับเหมาก็จะไม่ค่อยซีเรียสเรื่องปริมาณ เขาจะตักมาจนเต็มคันรถ

ซึ่งจะมากกว่าการตักตามปกติ เพราะเขาจะประหยัดค่าน้ำมันในการขนแต่ละรอบ การที่ขนน้อยรอบมากที่สุด

จะทำให้เขาสูญเ สียกำไรที่พึงจะได้น้อยที่สุดนั่นเอง ดังนั้นการซื้อดินเป็นคันรถ เหมาะกับงานเล็ก ๆ

ที่ต้องการใช้ดินในปริมาณที่แน่นอน ถ้าต้องการถมดินในปริมาณที่มาก ให้ติ ดต่อขอเหมาไปเลย

แจ้งกับผู้รับเหมาว่าต้องการที่จะถมดินให้สูงกว่าเดิมเท่าไหร่ แล้วผู้รับเหมาจะทำการวัด

และเสนอราคาทำราคามาให้ เราก็แค่พิจารณาซึ่งตรงนี้สามารถที่จะขอต่อราคากับผู้รับเหมาได้เลย

 

5. อย่ าลืมนึกถึงเพื่อนบ้าน

การผูกมิตรกับเพื่อนบ้านไว้เป็นสิ่งที่ดีมาก ในการก่อสร้างแต่ละครั้งจะมีทั้งเสี ยงรบกวน ฝุ่น การใช้ถนนสัญจร

ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างมลพิ ษ และกระทบกับความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัยในระแวกนั้น ดังนั้นหากเรามีการถมดิน

ก็ให้เราแจ้งให้เพื่อนบ้านและในระแวกใกล้เคียงไว้ก่อน เพื่อเป็นการขออภั ยไว้ล่วงหน้า

แค่นี้เพื่อนบ้านก็จะยินดี และให้ความร่วมมือ อาจได้เพื่อนบ้านก่อนที่บ้านจะสร้างเสร็จเสี ยด้วยซ้ำ

 

6. ทำสัญญาก่อนว่าจ้างถมดิน

เมื่อมีเรื่องเงิ นท องเข้ามาเกี่ยวข้อง เราก็ต้องรัดกุมให้มากขึ้น โดยก่อนที่จะตัดสินใจจ้างถมดิน

ต้องมีสัญญาว่าจ้างเสี ยก่อน แต่หากทางผู้รับเหมาไม่มีให้ เราก็สามารถที่จะทำขึ้นมาเองได้เลย

โดยสัญญาต้องระบุให้ครบถ้วนชัดเจนดังนี้ ประเภทดิน, จำนวนกี่คันหรือเหมากี่เมตร, ใช้ดินอะไร,

มีผู้ควบคุมงานหรือไม่, ระยะเวลาดำเนินงาน, การชำระเงิ น รวมถึงชื่อ นามสกุล และลายเซ็นของผู้จ้างและผู้ว่าจ้าง

โดยเอกส ารนี้ต้องทำขึ้นมา 2 ชุด จากนั้นให้ลงลายเซ็นไว้ทั้ง 2 ฝ่าย และเก็บไว้กันคนละฉบับ

หากมีเอกส ารอื่น ๆ สำคัญ ก็ให้ถ่ายสำเนาแนบไปกับเอกส ารด้วย ทำไมถึงต้องทำแบบนี้

ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง เช่น ผู้รับเหมาถมดินไม่ครบตามจำนวนที่ได้ต กลงกันไว้

หนีงานโดยที่ได้รับเงิ นไปแล้ว หลักฐานที่ทำไว้เหล่านี้แหละ จะเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี

แต่หากไม่มีก็จะฟ้องกันได้ย ากมาก หรือบางครั้งก็ไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้เลย

ทำให้เราเสี ยเ งินไปฟรี ๆ เสี ยอย่ างนั้น

 

7. ใช้ดินลูกรังหรือดินดำ

ดินที่ใช้ในการถมจะมีอยู่ 2 ชนิด นั่นก็คือ ดินลูกรัง กับดินดำ ซึ่ง “ดินลูกรัง” นั้นเหมาะที่จะทำการถมดิน

เพื่อการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ดินชนิดนี้จะได้จากการขุดดินภูเขา แต่หากต้องการถมเพื่อทำสวนหรือปลูกต้นไม้

ควรใช้ “ดินดำ” หรือ หน้าดิน ซึ่งจะเป็นดินที่ได้จากดินนา หรือดินเก่าตามสถานที่ต่าง ๆ

เช่น ขุดสระ ขุดบ่อที่ใช้ในการทำเกษตร ดินชนิดนี้จะมีความอุดมสมบูรณมากกว่าดินลูกรัง

แต่ราคาก็สูงกว่าตามไปด้วย แต่หากในพื้นที่ต้องการทำทั้งสิ่งปลูกสร้าง และอีกส่วนเป็นสวน

ก็ให้แยกและกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน และเลือกใช้ดินให้เหมาะสมตามชนิดจะดีกว่า

 

8. ถมดินแล้วรอนานแค่ไหนถึงจะสร้างบ้านได้

คำถามนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่ าง ซึ่งหาข้อสรุปและตอบได้ย ากมาก เพราะต้องคำนึงถึงสภาพพื้นดิน

และโครงสร้างของบ้าน ถ้าหากว่าเราได้ทำการถมดินตามระดับปกติคือ 0.5 – 1 เมตร

และโครงสร้างเป็นการตอกเสาเข็ม เพียงแค่รดน้ำบดดินให้แน่น และต้องไม่อยู่ในฤดูฝน

ก็สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้เลย เพราะดินที่ถมไม่ได้รับน้ำหนักจากตัวสิ่งปลูกสร้าง

แต่หากใช้เป็นฐานแผ่ ซึ่งต้องวางไว้บนดินที่แข็งและแน่น หลังการถมดินต้องทิ้งระยะเวลาไว้นานร่วมปี

แต่หากจะให้แน่นอนที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาในภายหลัง ก็ควรปรึกษากับวิศวกรโยธา

ให้เข้ามาสำรวจดูพื้นที่ว่าพร้อมที่จะก่อสร้างหรือยัง หรือใช้โครงสร้างที่เป็นเสาเข็มเลยจะดีกว่ามาก

 

9. แบ่งจ่ายเป็นงวดปลอดภัยกว่า

ในการก่อสร้างทุ กประเภท ควรแบ่งชำระเงิ นเป็นงวด ๆ ไม่ควรที่จะชำระให้ทางผู้รับเหมาก่อนในคราวเดียว

เพราะจะทำให้เกิดปัญหางานล่าช้า ทิ้งงาน ผลงานออกมาไม่เท่ากับที่สัญญาไว้ แต่หากเราทำสัญญา

ในการแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ ผู้รับเหมาก็จะเร่งงานเพื่อที่จะขอรับเงิ นตามที่สัญญาไว้เป็นงวด ๆ ไป

ก่อนจะชำระเงิ นก็ให้ตรวจดูหน้างานด้วยก็จะดีมาก ลองดูว่าเรียบร้อยเป็นที่น่าพอใจดีหรือเปล่า

แล้วค่อยจ่ายเงิ นก็ยังไม่สาย เพราะตามนิสัยคนไทยแล้วมักจะขี้เกรงใจ และเห็นใจคนง่าย

ผู้รับเหมาจึงมักจะนำจุดนี้มาเพื่อเป็นข้อต่อรองเพื่อที่จะรับเงิ นก่อน เช่น ต้องจ่ายเ งินให้ลูกน้องก่อน

จ่ายนู่นจ่ายนี่ส ารพัดที่เขาจะยกเอามาให้เราเห็นใจ ดังนั้นเราต้องทำใจแข็งให้มากที่สุด

และให้ยึดตามสัญญาที่ได้ต กลงกันไว้ตั้งแต่แรก

 

สิ่งที่ควรรู้ ในปัจจุบันภูเขาตามธรรมชาติได้หายไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการตักดินขายเพื่อการถมที่ดินนี่เอง

ดังนั้นเราควรช่วยกันเพื่อไม่ให้ภูเขาหายมากไปกว่านี้ โดยการถมดินแต่พอดี เอาเฉพาะที่มีความจำเป็นเท่านั้น

หากเราต้องการถมดินเพื่อการก่อสร้าง หรือทำพื้นที่เพื่อประโยชน์ เราต้องศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีเสี ยก่อน

เพื่อไม่ให้มีปัญหาขึ้นมาภายหลัง อาจด้วยการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความชะล่าใจก็ดี

ให้เรายึดตามข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นให้ครบทุ กข้อ ก็จะทำให้การถมที่ดินดำเนินการณ์

ได้อย่ างราบรื่น และเป็นความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายด้วย

 

ขอบคุณที่มา : krustory
Load More Related Articles
Load More By erz
Load More In เรื่องน่ารู้
Comments are closed.

Check Also

ตัวเราก็มีค่า ในแบบตัวเรา

เมื่อชีวิตต้องพบ กับความผิดหวัง แพ้พ่าย เสี ยใจ การมีใค … …