1. ให้ลูกรู้จักการเป็นตัวของตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ สำรวจ และทดลองทำอะไรด้วยตัวเอง
ปล่อยให้ลูกมีอิสระในการเลือกให้ความสนใจสิ่งต่าง ๆ โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยดูอยู่ใกล้ ๆ
และให้คำแนะนำเท่าที่จำเป็น การให้ลูกมีอิสระในการคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง
จะส่งผลให้ลูกมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
2. ให้ลูกช่วยทำงานบ้าน
การมอบหมายหน้าที่ให้ลูกช่วยทำงานบ้านเป็นการสร้างและส่งเสริมศักยภาพรอบด้านให้กับลูก
รวมถึงช่วยให้ลูกรู้จักการช่วยเหลือ รู้จักแบ่งปัน แสดงความมีน้ำใจต่อคนในครอบครัวอีกด้วย
3. ให้ความสำคัญกับการมีเวลาให้ลูก
เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีเวลาว่าง ควรมองหากิจกร รมที่ทำร่วมกันทั้งครอบครัว
เช่น ทำกิจกร รมประดิษฐ์ของเล่น ดูหนัง ทำอาหาร
รวมถึงการกิจกร รมนอกบ้าน เช่น ไปสวนสัตว์ ไปพิพิธภัณฑ์ เพราะการที่ครอบครัว
ได้ทำกิจกร รมร่วมกันถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ให้เหนียวแน่น ทำให้เด็ ก ๆ รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และมองเห็นว่าเวลาที่
ได้อยู่กับคุณพ่อคุณแม่นั้นพิเศษเสมอ
4. ให้ลูกรู้ว่าลูกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเสมอ
เวลาที่ลูกมีพฤติกร รมหรือคำพูดที่ไม่น่ารัก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้อ ารมณ์ตอบโต้
หรือทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยก เช่น คำขู่ว่าทำแบบนี้แล้วจะไม่รัก
หรือการเปรียบเทียบลูกกับเด็ กคนอื่น แต่ควรใช้เหตุผลอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า
ทำไมคุณพ่อคุณแม่ถึงไม่พอใจ และอย่ าลืมแสดงออกให้ลูกเห็นว่า
คุณพ่อคุณแม่รักลูก แม้ว่าลูกจะทำตัวไม่น่ารัก แต่ลูกก็เป็น
ส่วนหนึ่งของครอบครัวและทุ กคนพร้อมที่จะให้อภั ยเสมอ
5. ให้โภชนาการที่ดีแ ก่ลูก
อาหารถือเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างร่ างกายและพัฒนาการของเ ด็ก
ไม่ว่าจะเป็นการให้ลูกได้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด หรือดื่มนม
ที่อุดมไปด้วยส ารอาหารครบถ้วนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก
รวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุ ขภาพเพื่อการเจริญเติบโตได้อย่ างแข็งแรงสมวัย
6. ห้ามเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเผลอใช้คำพูดเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น
เช่น พูดว่าคนอื่นเก่งกว่า ดีกว่า เพื่อที่จะเป็นแรงผลักดันให้ลูกพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่ างยิ่ง เพราะฉะนั้นควรเข้าใจและภูมิใจในสิ่งที่ลูกเป็นให้มากที่สุด
หากคุณพ่อคุณแม่อย ากให้ลูกทำอะไร ก็ควรเป็นตัวอย่ างที่ดี ทำให้ลูกเห็น
และคอยสนับสนุนในด้านที่ลูกสนใจมากกว่าการบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่ชอบ
ขอบคุณที่มา : fahhsai