1. ตั้งราคาต่ำ
การตั้งราคา นับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในการทำธุรกิจของเราเอง
ซึ่งการตั้งราคาจะสามารถกำหนดความสำเร็จในอนาคตได้ด้วย
แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักตั้งราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินคู่แข่ง
เพราะคิดว่าจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของตนเองมากกว่า
โดยลืมคิดเรื่องต้นทุนของตัวเองว่า จริง ๆ แล้วสูงกว่าคู่แข่งหรือไม่
แถมผู้ประกอบการบางคนยังตั้งราคาต่ำเกินไปจนเหลือกำไรน้อยมาก
ดังนั้นก่อนที่จะตั้งราคาจึงควรพย าย ามคำนวณต้นทุนอย่ างระมัดระวั ง
และไม่ต้องกลัวที่จะตั้งราคาสินค้าที่มีคุณภาพและการบริการที่ดีในราคาที่สูง
เพราะผู้บริโภคสมัยใหม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายเงิ นเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพมากกว่า
2. ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
ใคร ๆ ก็อย ากให้ธุรกิจและภาพลักษณ์ขององค์กรออกมาดี แต่การลงทุนที่มากเกินไป
ย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สูงเป็นเงาตามตัวไปด้วย ยกตัวอย่ างเช่น
คุณเพิ่งเริ่มธุรกิจด้วยพนักงาน 3 คน แต่กลับต้องการออฟฟิศบนพื้นที่ 100 ตารางเมตร
หรือลงทุนซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่มาใช้ ทั้ง ๆ ที่สามารถซื้อขนาดเล็กแต่มีคุณภาพเหมาะสม
ต่อกำลังการผลิตในปัจจุบัน หรือแทนที่จะเช่ารถในการขนส่งสินค้าแต่กลับซื้อรถป้ายแดงมาใช้แทน
หรือแม้แต่การต กแต่งออฟฟิศจนสวยหรูด้วยเงิ นผ่อน ตลอดจนการตั้งเ งินเดือนที่สูงเกินไปของพนักงาน
และของตัวเราเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เรามีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สูงมาก ๆ
เพราะฉะนั้นพย าย ามคิดให้รอบคอบเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ อะไรที่จำเป็นต้องจ่าย
และอะไรที่ไม่จำเป็นต้องจ่าย หรือมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
เพราะหากค่าใช้จ่ายสูงก็ไม่ต่างกับเราขุดหลุมฝังธุรกิจของตัวเองทั้งเป็น
3. ถูกค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นเล่นงาน
ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นคือ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองในสำนักงาน ดินสอ ปากกา และค่าหมึกพิมพ์
นอกจากนี้ ยังมีค่าภาษีรายปี ค่าประกัน ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าสินค้าเ สียหาย
เช่น ผลิตมาได้ 100 ชิ้น แต่ระหว่างขนส่งจนถึงช่องทางจำหน่ายสุดท้ายก่อนถึงมือลูกค้า
สามารถนำไปวางขายได้เพียง 90 ชิ้น โดยอาจเสี ยหายตั้งแต่กระบวนการผลิต
ระหว่างการขนส่ง สินค้าชำรุด และสุดท้ายสู ญหายจากการถูกขโ มยที่ร้านค้า
ทั้งหมดนี้คือค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นสามารถดูดกำไรเราไปได้อย่ างมหาศาล
4. การแข่งขันที่รุ นแรง
บางครั้งเราก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้และมีกำไรเหลือในระดับหนึ่ง
แต่วันหนึ่งโช คกลับไม่เข้าข้างเราเมื่อต้องมาเจอกับคู่แข่งที่มีเงิ นลงทุนสูงกว่า
ซึ่งสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่า แถมยังขายสินค้าราคาต่ำกว่าเรา
โดยคุณภาพใกล้เคียงกัน หรือคู่แข่งผลิตสินค้าออกมาขายในราคาเท่ากับเรา
แต่ใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพสูงกว่า ไม่ต้องบอกก็คงจะพอรู้ผลลัพธ์ว่าในระยะย าว
ใครจะมียอดขายสูงกว่ากัน วิ ธีการแก้ไขคือ พย าย ามสร้างความแต กต่างให้กับสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคา คุณภาพ วัตถุดิบ และประสบการณ์ด้านบริการ
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงความแต กต่างอยู่เสมอ
5. ไม่มีใครรู้จักสินค้าของเรา
ก่อนหน้านี้ประมาณ 15 ปีก่อน ไม่มีใครรู้สรรพคุณของชาเขียว และผู้ประกอบการรายแรก
ที่ผลิตน้ำชาเขียวขึ้นมาขายก็ต้องพบกับความเหน็ดเหนื่อยในการสร้างการรับรู้ (Perception)
ให้ความรู้ตลาด (Educate) ว่า ชาเขียวคืออะไร มีข้อดีหรือสรรพคุณอย่ างไร
ตลอดจนพย าย ามสร้าง Story ของชาเขียวต่าง ๆ นานา ซึ่งกว่าเจ้าชาเขียวจะติ ดฮอตฮิตติ ดตลาดได้
ก็ใช้เวลาขับเคี่ยวอยู่นานพอสมควร เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าสินค้าของเราจะดีเลิศแค่ไหน
ราคาเหมาะสมกับลูกค้า แต่ถ้าตลาดไม่รู้จัก ก็จะไม่กล้าซื้อ หรือซื้อน้อย ส่งผลให้เกิดกำไรที่น้อยตามไปด้วย
เราจึงจำเป็นต้องลงทุนในเรื่องการตลาดและการโฆษณา เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง
ขอบคุณที่มา : jingjai999