อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักฟิสิกส์ทฤษฎี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่ างกว้างขวาง
ว่าเป็นนักวิทย าศาสตร์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคคนหนึ่ง เป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ
และ มีส่วนร่วมในการพัฒนา กลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สถิติ และ จักรวาลวิทย า
อีกท่าน รพินทรนาถ ฐากุร ถูกยกสมัญญานามว่า “คุรุเทพ” เป็นนักปรัชญา มีชื่อเสี ยงจากการเขียนบทกวี
งานครั้งแรกเขียนตั้งแต่อายุเพียง 8 ปี ครั้นอายุได้ 16 ปี ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่งานกวีนิพนธ์
และ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกร รม ประจำปี ค.ศ. 1913 นับเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล
เคยมีคนถามคุรุเทพ รพินทรนาถ ฐากุร นักปรัชญาของอินเดีย 3 คำถามว่า…
ข้อที่ 1 ในโลกนี้สิ่งใดง่ายที่สุด…?
ข้อที่ 2 ในโลกนี้สิ่งใดย ากที่สุด…?
ข้อที่ 3 ในโลกนี้สิ่งใดยิ่งใหญ่ที่สุด…?
คุรุเทพรพินทรนาถ ฐากุรตอบเขาว่า…
ตำหนิคนอื่นง่ายที่สุด
รู้จักตัวเองย ากที่สุด
ความรักยิ่งใหญ่ที่สุด
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทย าศาสตร์ผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทางโลกเป็นอย่ างดี
ส่วน รพินทรนาถ ฐากุร เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่ างมากในด้านทางธรรม และ ความเป็นนักปรัชญา
ทำให้ทั้งคู่นัดเจอกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อถกปัญหา ประเด็นต่าง ๆ ในมุมมองของตังเอง
ตามแบบฉบับของอารยชน และ นี่คือตัวอย่ างของบทสนทนาบางช่วง
ไอน์สไตน์ : นักฟิสิกส์สมัยใหม่จะพูดว่าความขัดแย้ง หากมองจากที่ไกล ๆ จะเห็นเมฆเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
แต่ถ้าคุณมองดูใกล้เมฆเหล่านั้นจะแสดงตัวเองให้เห็นเป็นหยดน้ำที่ไร้ระเบียบ
ฐากูร : ในด้านจิตวิทย าเกี่ยวกับมนุษย์นั้นผมพบว่ามีลักษณะคู่ขนานอยู่อย่ างหนึ่ง กิเลสกับความต้องการของเรา
เป็นสิ่งที่ระงับได้ย าก แต่บุคลิกภาพของเราก็ได้กำราบสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
ในโลกทางฟิสิกส์มีอะไรในทำนองนี้เกิดขึ้นบ้างหรือไม่? มีธาตุต่าง ๆ ที่แข็งขืน เปลี่ยนแปลงไปด้วยแรงพลักดัน
ที่เป็นของตัวเองโดยเฉพาะบ้างหรือไม่? กฎเกณฑ์ในโลกทางฟิสิกส์ที่บังคับครอบงำธาตุต่าง ๆ
และทำให้รวมกันเป็นระบบที่เป็นระเบียบนั้นมีอยู่ไม่ใช่หรือ?
ไอน์สไตน์ : ธาตุต่าง ๆ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความเป็นระเบียบในเชิงสถิติ ธาตุเรเดี่ยมจะมีระเบียบที่แน่นอนของมันเสมอ
ทั้งในขณะนี้และต่อ ๆ ไป เช่นเดียวกับที่มันเคยเป็นตลอดมา ฉะนั้นในธาตุต่าง ๆ ก็ย่อมมีความเป็นระเบียบในเชิงสถิติ
ฐากูร : หรือถ้าไม่อย่ างนั้น ความเป็นไปเกี่ยวกับชีวิตที่เป็นอยู่ก็ไม่เป็นระเบียบเอามาก ๆ ความกลมกลืนที่ลงตัวอย่ างมั่นคง
ของโอกาสและการตัดสินใจนั่นเองที่ทำให้มันดำเนินอยู่ได้และมีอะไรใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
ไอน์สไตน์ : ผมเชื่อว่าอะไรก็ตาม ที่เราทำหรือมีชีวิตอยู่เพื่อมันล้วนแต่มีเหตุมีผลที่อธิบายได้
อย่ างไรก็ตาม มันดีเหมือนกันนะที่เราไม่สามารถมองทะลุถึงเหตุผลอันนี้ได้
ซึ่งแน่นอนว่า บทสนทนาระหว่างบุคคลผู้เป็นที่สุดในแต่ละด้านนั้น ย่อมไม่ธรรมดา และ คนธรรมดาอย่ างเรา ๆ
อาจเข้าถึงได้ย าก และ ต้องทำความเข้าใจตาม อย่ างไรก็ตามนั่นแสดงให้เห็นถึงมุมมองของทั้งสองคน
ที่ไม่ได้โต้เถียงกันเพื่อจะเอาชนะ แต่เป็นบทสนทนา พูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้กัน
ขอบคุณที่มา : bitcoretech