อินทรีก่อนที่มันจะวางไข่ พวกมันจะสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน เพื่อให้ปลอดภัยจากนักล่าอื่น ๆ และ ฝึกลูกให้ชินกับพื้นที่สูง
ออกซิเจนต่ำ อากาศหายใจน้อย และ เบาบาง ทำให้ร่ างกายเคยชินสภาพอากาศที่หายใจได้ลำบากตั้งแต่เล็ก
รังแบบ 5 ชั้น ที่ถูกวางหมากเอาไว้แล้ว
ชั้นแรก แม่นกอินทรีจะวางก้อนหิน ก้อนใหญ่ ๆ วางล้อมกรอบเป็นวงขนาดพอตัว
ชั้นต่อมา แม่นกอินทรีจะวางกิ่งไม้ขนาดใหญ่ ไขว้กันไปมาเพื่อเป็นฐานรากเพิ่มความแข็งแรงให้กับรัง
ชั้นที่สาม แม่นกอินทรีจะวางกิ่งไม้ที่มีหนามซ้อนไปมา
ชั้นที่สี่ แม่นกอินทรีจะวางใบไม้หนา ๆ เพื่อป้องกันหนามที่แหลมคมจากกิ่งไม้ เป็นพื้นนอนสำหรับลูก ๆ
ชั้นที่ห้า แม่นกอินทรีจะจิกขนอ่อนใต้ปีกของตนเอง ออกมาทำเป็นที่นอนนุ่ม ๆ สำหรับให้ลูกนอนสบาย
หลังจากลูก ๆ ลืมตาออกมาดูโลก แม่นกอินทรีจะคอยดูพัฒนาการของลูก ๆ ในรัง เมื่อลูกน้อยที่อยู่ในรังจนเติบโตได้ในระดับหนึ่ง
จนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แม่นกจะเริ่มฝึกลูกนกอินทรีย์แบบเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนสำคัญของการฝึกลูกนกอินทรีในรังแบบ 5 ชั้น
ขั้นแรก แม่นกเริ่มคาบเอาขนที่อ่อนนุ่มออกจากรัง เพื่อไม่ให้ลูก ๆ ได้นอนสบายเหมือนเดิม
ลูกจะเริ่มได้เรียนรู้ถึงความลำบาก ซึ่งแรก ๆ ลูกจะร้อง แต่ต่อมาจะค่อย ๆ ปรับตัวได้ในที่สุด
ขั้นที่สอง เอาใบไม้ออกจากรังจนหมด จนเหลือแต่กิ่งไม้ที่มีหนามแหลม ลูกนกก็จะต้องพย าย ามนอนให้ได้
เมื่อนอนพลิกตัวไปมาจะโดนหนามทำให้ฝึกสัญชาตญานการรับรู้ภัยรอบตัว
และ ต้องมีสติแม้เวลานอนก็ตาม ทำให้ระวั งตัวอยู่ตลอดเวลาถ้ามีภัยอะไรเข้ามารอบตัว
ขั้นที่สาม เอากิ่งไม้ที่มีหนามออก คราวนี้ไม่มีให้นอน ดังนั้นลูกนกจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ขาเกาะกิ่งไม้ให้แข็งแรง
เป็นการฝึกกล้ามเนื้ อขาให้แข็งแรง แล้วลูกนกต้องสามารถหลับได้โดยการเกาะกิ่งไม้นอน
เพราะ เมื่อลูก ๆ เติบโตขึ้น จะไม่มีรังคอยปกป้องแล้ว ต้องไปหาเกาะนอนตามกิ่งไม้ต่าง ๆ
ขั้นที่สี่ เอากิ่งไม้ออกเหลือเฉพาะรากฐานที่เป็นก้อนหิน เป็นพื้นแข็ง ๆ ซึ่งคราวนี้แหละจะลำบากที่สุด
เพราะ ไม่มีแม้แต่กิ่งไม้ให้เกาะ มีแต่หินที่ต้องใช้เท้า และ กรงเล็บยึดเกาะไว้ให้แน่น
เพื่อไม่ให้ร่วงจากหน้าผา เพื่อฝึกกล้ามเนื้ อขา และ กรงเล็บของลูก ๆ
ขั้นที่ห้า แม่นกจะเริ่มคาบลูกนกทีละตัว แล้วบินขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อให้ลูกนกได้เห็นโลกกว้างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
และ ให้เคยชินกับในที่สูง กระแสลมแรงๆที่เข้ามาปะทะร่าง จากนั้นก็จะนำลูกนกกลับรัง และเปลี่ยนเอาตัวอื่น ๆ ไปจนครบหมดทุ กตัว
จากนั้นวันต่อมา แม่นกจะพาบินทีละตัว บินขึ้นลงบนท้องฟ้าอย่ างรวดเร็ว พาลูกบินสูงขึ้น และ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
ลูกนกยังไม่ทันได้ตั้งตัว แม่นกก็สลัดจนลูกลอยคว้างอยู่กลางอากาศ และ ร่วงลงสู้พื้นอย่ างรวดเร็ว
ลูก ๆ ต่างต กใจส่งเสี ยงร้องลั่น และ พย าย ามกางปีกออกเพื่อประคองตัวเอง พอใกล้จะถึงพื้น
ลูกนกยังไม่ทันจะได้กางปีกออก แม่นกก็บินมาโฉบรับลูกก่อนจะถึงพื้นได้อย่ างแม่นยำ และ พาลูกนกกลับรังอย่ างปลอดภัย
แล้วแม่นก ก็จะเริ่มฝึกลูกแบบนี้ทุ กตัว จนกว่าลูกจะสามารถกางปีก และ บินเองได้ในที่สุด
เมื่อถึงวันนั้น วันที่ลูก ๆ เริ่มกางปีกออกบิน หาอาหารเองได้แล้ว หน้าที่ของการเป็นแม่ก็จบลง
นกอินทรี เป็นสัตว์ปีกที่อยู่แทบจะบนสุดของห่วงโซ่อาหาร ในบรรดาสัตว์ปีกทั้งหมด
สิ่งนี้ไม่ได้มาเพราะโ ชคช่วย แต่ได้มาเพราะ การเรียนรู้ ฝึกฝน ตั้งแต่ยังเล็ก จากรุ่นสู่รุ่น สืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ
นกอินทรีมีการเลี้ยงดู และ ฝึกฝนลูก ๆ ในแบบเป็นขั้นเป็นตอนเหมาะสมกับวัย
กว่าจะได้มาเป็นเจ้าแห่งท้องฟ้านั้นต้องผ่ านอะไรกันมาบ้าง ลองนำวิ ธีการเลี้ยงลูกแบบนกอินทรีไปปรับใช้ในชีวิต
ลองหันกลับมาถามตัวเอง เลี้ยงลูกได้ถูกทางแล้วหรือยัง คุณกำลังฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ลูกสามารถเอาตัวรอดบนโลกใบนี้ได้ด้วยตัวเอง
โดยเหมาะสมไปตามวัยอันควรหรือไม่ คุณกำลังเร่งรัดลูกมากเกินไป จนอาจทำให้ลูก ๆ รู้สึกอึดอัด และ ไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่ง
หรือบางทีคุณกำลังช่วยเหลือลูก ๆ ทุ กอย่ างมากเกินไป โดยไม่ปล่อยให้พวกเขาหัดทำอะไรเองไหม
เพราะ หากคุณโอ๋ลูกมากจนเกินไป สุดท้ายแล้วเมื่อเติบโตขึ้น พวกเขาอาจไม่ใช้ผู้ใหญ่ที่ ปีกกล้า ขาแข็ง มากพอที่จะพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต
ดังนั้นควรปล่อยให้เขาได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองให้ได้ตามความเหมาะสมในแต่ละวัย ไม่เร่งรัดหรือกดดันมากเกินไปจนรู้สึกอึดอัด
แต่ก็ไม่เข้าไปช่วยเหลือมากเกินไปจนทำให้พวกเขาไม่เคยลองหัดทำอะไรเองเลย
ขอบคุณที่มา : bitcoretech