1. ตั้งต้นด้วยเงิ นออม
หลายคนคิดว่าเงิ นเก็บหรือเงิ นออม คือเงิ นที่เหลือจากการใช้จ่าย
รายได้ – รายจ่าย = เงิ นออมซึ่งถูกต้อง แต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นที่ดีสำหรับคนที่อย ากเก็บเ งินให้ได้
อย่ างมีวินัยเราไม่ควรมองเงิ นออมเป็นเงิ นเหลือ แต่ควรมองเป็นเงิ นที่ถูก “จัดหมวดห มู่” เอาไว้ว่านี่
คือ เงิ นออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออมเ งิน 2,000 บาท โดยเรามีเ งินเดือน 20,000 บาท แปลว่า
เราต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 18,000 บาท เมื่อคิดในมุมนี้ สมการที่เราควรตั้งต้นไม่ควรเป็น
รายได้ – รายจ่าย = เงิ นเหลือเพื่อการออม แต่ควรเป็น
รายได้ – เงิ นออม = รายจ่าย หรือก็คือเราควรหั กเงิ นออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่าย
ตามงบประมาณที่มีนั้นเอง มีคนมากมายที่ไม่ได้วางแผนและจัดสรรการใช้เ งิน สมมติว่าได้เงิ นมาเดือนละ
20,000 บาท ก็กะว่าไม่ควรใช้เงิ นเกินยอดนี้ เมื่อตัวเลขที่ตั้งไว้ในใจตรงกับรายได้ ก็ทำให้ใช้จ่าย
เยอะและไม่ค่อยเหลือเงิ นเก็บ แต่การตั้งต้นด้วยเงิ นออมก่อนนั้นจะทำให้เรามองเห็นชัดเจนมากขึ้น
ว่าเท่าไรกันแน่ที่เราควรใช้จ่ายได้ต่อเดือน
2. งบประมาณควรแบ่งประเภทและลำดับความสำคัญ
จากข้อที่แล้วจะช่วยให้เราเห็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหลังหั กเงิ นออมที่คาดหวัง ทั้งนี้เมื่อลงมือจริง
หลายครั้งก็จ่ายไม่ได้จริงตามที่ตั้งใจเพ ราะมักจะจ่ายให้กับ ‘สิ่งที่ไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน’ เช่น
จ่ายให้กับค่าอาหารที่อย ากทานในแต่ละวันก่อน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาในช่วง
ปลายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น ทำให้ใช้เ งินเยอะกว่างบประมาณ
ทางที่ดีควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่ายประจำที่สำคัญก่อน
3. จดบันทึกให้เป็นนิสัย
จากผลสำรวจของบริษัท YouGov ผลการสำรวจนี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72%
ของรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่น
หมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท
(มากกว่าพันบาทต่อสัปดาห์เลยทีเดียว) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าว
น่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
ค่าใช้จ่ายรั่วไหลกับอะไรไม่รู้…ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย
ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายมากมาย ทั้ง iOS และ Android ให้คุณได้เลือกลองใช้
4. ค่าอาหาร…รายจ่ายประจำที่ลดได้
จากข้อมูลในข้อที่แล้วซึ่งพบว่าค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
วิ ธีหนึ่งที่จะลดรูรายจ่ายก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหาร
มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น ทำอาหารทานเอง: การทำอาหารทานเองประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าซื้อทาน โดย
เฉพาะถ้าเป็นครอบครัวหลายคน ราคาต่อหัวก็จะประหยัดมากขึ้น และสำหรับคนทำงานที่เคยซื้ออาหาร
ในที่ทำงานทานทุ กวัน ลองนำอาหารไปทานเอง เช่น ตั้งเป้าว่าจะนำอาหารมาทานเอง 1-2 วันต่อสัปดาห์
ก็จะช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้
ทานกับข้าวร่วมกันกับทีม: คนทำงานส่วนใหญ่มักนิยมทานอาหารจานเดี่ยวเพ ราะความสะดวกคล่อง
ตัว การสั่งกับข้าวทานร่วมกันนั้นเป็นอีกวิ ธีที่นอกจากจะได้เปลี่ยนบรรย ากาศแล้วยังเพิ่มโอกาสการ
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
5. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงิ นเข้ากระเป๋า รวมไปถึงเสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่ หลายคนมีเสื้อผ้าเยอะมาก แต่
ใส่ไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด มีผลวิจัยเคยกล่าวไว้ว่าคนไทยซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี
ไม่แปลกใจเลยที่จะล้นตู้ แนะนำว่าให้ตัดใจแล้วนำไปขายต่อ หรือลองเรียนรู้วิ ธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้
เป็นชุดเก๋ รวมถึงหากนำเสื้อผ้าที่มีมาจับคู่ดี ๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนคุณมีเสื้อผ้าใหม่ ๆ ตลอดเวลาได้เหมือนกัน
ขอบคุณที่มา : meokayna