คนเราทำสมาธิ อย ากได้ความสงบพอสงบก็จบได้ ยิ้มออกได้ พอไม่สงบก็ผิดหวัง
รู้สึกอึดอัดใจ ดิ้นรน ทุรนทุราย แล้วก็ไม่อย ากนั่งสมาธิอีก
สมาธิคือ การเปลี่ยนอึดอัดเป็นสบาย แต่หลายคนทำสมาธิแล้ว
เปลี่ยนสบายเป็นอึดอัด เพราะเริ่มด้วยความมุ่งหมายผิด
เช่น จะบีบบังคับให้ตัวเองนิ่งทื่อทันที จิตสงบทันที เลิกฟุ้งซ่านทันที หรือเห็นลมหายใจชัดทันที
การบังคับตัวเองเช่นนั้น ก่อให้เกิดความเครียดกับจิต เป็นแรงอัดที่พร้อมจะก่อตัวเป็นความฟุ้งซ่านยิ่งขึ้นไปอีก
จุดเริ่มต้นควร ทำความเข้าใจให้ถูกตรง ก่อนทำสมาธิไม่ใช่เพื่อให้จิตสงบ
ไม่ใช่เพื่อไปจับจุดว่าทำได้ทำไม่ได้ฟุ้งซ่านมากฟุ้งซ่านน้อย แต่เพื่อจะจับจุดว่ามันเที่ยงหรือไม่เที่ยง
สิ่งที่พิเศษ สิ่งที่ดีก็คือ สติเห็นทั่วทั้งกายใจนี้ กำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา
นับตั้งแต่ลมหายใจเข้าออกไปจนกระทั่งความรู้สึกนึกคิด
ไม่ว่าจะเกิดภาวะเลิศเลอแค่ไหน ก็ไม่ติ ดใจ ไม่ยินดี เห็นเป็นแค่ปัจจัยทางด้านกุศล
หรือจิตมันแ ย่ลงเสื่อมลงก็ไม่เสี ยใจ เห็นเป็นเหตุปัจจัยของความเสื่อมลง
ไม่มีความเสี ยใจ ไม่มีความดีใจ มีแต่ความเป็นอุเบกขา รู้แต่ว่าเห็นอย่ างนั้นเห็นตามจริง
ไม่ใช่ว่าเราจะต้องมีปัญญาสูงส่ง หรือต้องมีไอคิวทางธรรมที่สูงขึ้นไปกว่านี้
แต่เราเป็นของเราอย่ างนี้แหละ เอาตัวที่กำลังฟุ้งซ่าน ที่กำลังกระโดดบ่อย ๆ
แบบนี้มาใช้ดูความไม่เที่ยงเมื่อไหร่ เห็นความไม่สงบแสดงตัวชัด ๆ เมื่อนั้น
จะเห็นความไม่สงบค่อย ๆ แปรตัวไปค่อย ๆ อ่อนกำลังลงในที่สุด พอจิตของเรามีกำลังแล้ว
รวมเป็นสมาธิขึ้นมาจริง ๆ มันก็จะเอาความเคยชิน ที่จะเห็นแบบนี้แหละติ ดตามเป็นเงาตามตัวไปด้วย
จำไว้นะครับ สติ สำคัญกว่าความนิ่ง นี่คือสิ่งที่เป็นคีย์ในการภาวนาจริง ๆ
เมื่อจับจุดถูก เตรียมใจเห็นความไม่เที่ยงทุ กครั้งที่นั่งสมาธิ
ปลายทางของการนั่งสมาธิทุ กครั้ง จะเป็นความทรงจำว่าเป็นสุข เป็นความพอใจ
เห็นความจริงชัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกว่าคืบหน้าขึ้นเรื่อย ๆ เลิกคาดหวังผิด ๆ เลิกผิดหวังอย่ างสูญเปล่า
แล้วกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ในการนั่งสมาธิแบบพุทธในที่สุด
สมาธิไม่ได้เกิดจากการบังคับใจให้นิ่ง แต่เกิดจากความเต็มใจรู้อยู่กับสิ่งที่น่ารู้นานพอ
ขอบคุณที่มา : dhammasawatdee