1. ฟังในสิ่งคนอื่นพูด
เวลาที่คนเราถกเถียงกันอย่ างเผ็ดร้อนนั้น แต่ละคนก็อย ากจะบอกความคิดเห็นของตัวเองให้คนอื่นรู้
จนไม่เปิดโอกาสฟังความเห็นของอีกฝ่ายบ้าง “เวลาเถียงกันนั้นคนเรามักจะคิดว่า
ความเห็นของฝ่ายตรงข้ามนั้นฟังไม่ขึ้น ไม่ควรรับฟังหรือได้รับความใส่ใจเลย”
ทั้งที่แท้จริงแล้ว การฟังความเห็นของอีกฝ่ายจะทำให้เราได้รู้อะไรเพิ่มเติม
ลึกซึ้งขึ้น และยังทำให้เราปรับปรุงท่าทีของเราให้ดีขึ้นได้ด้วย
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
บอกว่าคนเรามักจะตั้งป้อมไว้ไว้ก่อนแล้ว และจะหาทางป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายแสดงความเห็นรุกล้ำเข้ามาได้
ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นการถกเถียงกันก็มักจะลงเอยด้วยการทะเลาะ แต่การเอาใจเขามาใส่ใจเราจะช่วยแก้ในจุดนี้ได้
ควรตั้งสมมติฐานว่าคนที่กำลังเถียงกับเรานั้นก็ไม่ต่างจากตัวเองพย าย ามหาคำตอบให้ได้ว่า
ทำไมเขาถึงคิดเช่นนั้น บางทีการคิดเช่นนี้อาจทำให้เราเปลี่ยนความคิดของตัวเองก็ได้
3. ทวนในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
เชื่อว่าบ่อยครั้งที่ความเข้าใจผิดเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนเราเห็นไม่ตรงกัน ดังนั้นการทวนชัด ๆ
ในสิ่งที่อีกฝ่ายเพิ่งเอ่ยมาจะเลี่ยงการเกิดความเข้าใจผิดได้
4. หาสิ่งที่เป็นข้อขัดแย้งให้พบแต่เนิ่น ๆ
เห็นว่ามันจะช่วยลดความร้อนแรงของการเห็นไม่ตรงกันลงได้
5. มองหาจุดร่วม
มันอาจฟังดูแปลกที่จะต้องมามองหาสิ่งที่เห็นตรงกันในขณะที่กำลังเถียงกันอยู่
หากเราไม่สามารถจะเห็นพ้องกันในสิ่งที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นได้แล้ว ก็คงไม่อาจจะคุยกันต่อไปได้
เช่น คนสองคนที่กำลังเถียงกันว่าจะซื้อชีสประเภทไหนดี จะต้องเห็นพ้องกันให้ได้ก่อนว่า
ทั้งสองคนต้องการซื้อชีสเพราะไม่เช่นนั้นก็จะเถียงกันไปไม่จบ
6. ก้าวให้พ้นจากความเคยชิน
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแรงขับเคลื่อนในที่ทำงาน แนะว่าการพย าย ามก้าวให้พ้นจากความเคยชินเดิม ๆ
ทำให้คนปรับเปลี่ยนมุมมอง มองประเด็นต่างออกไปและได้แนวคิดใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น
7. อย่ าทำให้เป็นเรื่องส่วนตัว
การเถียงกันนั้นไม่จำเป็นต้องทำให้คนใจร้ ายต่อกัน เพราะจริง ๆ แล้ว
การถกเถียงกันอย่ างสร้างสรรค์จะต้องไม่เอาเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยว
ให้ดูตัวอย่ างจากการถกเถียงและโต้แย้งอย่ างเปิดกว้างในทางวิทย าศาสตร์
ที่เน้นที่เหตุผลและความเป็นจริงควรระลึกอยู่เสมอว่าให้จำกัดอยู่ที่ประเด็นที่ถกเถียงไม่ใช่ตัวคน
ขอบคุณที่มา : forlifeth